วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

โรคในอาเซียน ม3/4

โรคในอาเซียน

ประเทศไทย

โรคอหิวาตกโรค


1.ลักษณะโรค

เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหารจากแบคทีเรียชนิดเฉียบพลัน เริ่มด้วยอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำอย่างมากโดยไม่มีอาการปวดท้อง บางรายอุจจาระขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว สำหรับเชื้อโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง(อหิวาตกโรค) ชนิด El Tor biotype ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเลยก็ได้ ในรายรุนแรงน้อยอาจพบแต่อาการถ่ายเป็นน้ำ พบได้บ่อยในเด็ก

2.วิธีติดต่อ

ติดต่อโดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อที่มีชีวิตปนอยู่ เชื้อ El Tor สามารถมีชีวิตอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน การรับประทานอาหารทะเลดิบ หรืออาหารดิบๆสุกๆ เป็นสาเหตุของการระบาดทั่วไป การติดต่อระหว่างบุคคลสู่บุคคลโดยตรงพบได้น้อยมาก

3.วิธีการป้องกัน
  - ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงใหม่หรือแน่ใจว่าสะอาด
  - ล้างมือก่อนรัปประทานอาหาร
  - รักษาความสะอาดสถานที่ข้าวของเครื่องใช้

ประเทศกัมพูชา
โรคมือเท้าปาก

1.ลักษณะโรค
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคติดต่อที่พบบ่อยในเด็กโดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มักมีการระบาดช่วงฤดูฝน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง กรณีที่มีสมองอักเสบร่วมด้วย มักเกิดจากเชื้อเอนเตอโรไวรัส 71 หรือ อีวี 71 มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้

2.วิธีติดต่อ
เชื้อไวรัสแพร่ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย สามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู     น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ โรคมือเท้าปากมักระบาดในโรงเรียนชั้นอนุบาลเด็กเล็ก             หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก โรคมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถติดต่อกันได้โดยที่ยังไม่แสดงอาการ

3.วิธีการป้องกัน
  - แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น
  - ทำความสะอาดของเล่นและสภาพแวดล้อมทุกวัน การทำความสะอาดโดยใช้สบู่ ผงซักฟอกหรือ     น้ำยาทำความสะอาดทั่วไป
ประเทศพม่า(เมียนมาร์)
โรคเท้าช้าง

1.ลักษณะโรค
โรคนี้เกิดจาดพยาธิตัวกลมที่พบบ่อยคือเชื้อ Wuchereria bancrofti และ Brugia malayi ซึ่งอาศัยอยู่ในคนเท่านั้น เชื้อจะเข้าท่อน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลือง เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนได้ 4-6 ปีและออกลูกออกหลานเป็นล้านตัวเข้ากระแสเลือด ยุงกัดคนที่เป็นและรับเชื้อไป เมื่อไปกัดคนอื่นจะปล่อยเชื้อสู่คนอื่น อาการที่สำคัญคือมีอาการบวมของอวัยวะที่พบได้บ่อยคือ ขา แขน อวัยวะเพศ

2.อาการ
อาการของโรคแบ่งได้เป็น อาการเฉียบพลัน อาการโรคเรื้อรัง และไม่มีอาการ
อาการเฉียบพลัน
 เกิดการอักเสบของหลอดน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลืองโดยมากตรวจพบเชื้อในท่อน้ำเหลืองหรือต่อมน้ำเหลืองของอวัยวะต่างๆที่สำคัญผู้ป่วยส่วนมากมีอาการลมพิษ (urticaria) ร่วมด้วย ตรวจเลือดพบ eosinophils สูงพร้อมกับพบตัวอ่อน (microfilariae) ผิวหนังตรงตำแหน่งที่หลอดน้ำเหลืองอุดตันเหล่านั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงคือ เกิดบวมแข็ง ผื่นแดง หลอดน้ำเหลืองจะโป่งมีน้ำเหลืองคั่งอยู่ คลำได้เป็นก้อนขรุขระ

อาการโรคเรื้อรัง
มักจะมีอาการบวมโดยเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti ตำแหน่งที่เชื้อพยาธิตัวแก่ชอบอาศัยคือบริเวณอัณฑะทำให้เกิดถุงน้ำในท่อนำเชื้ออสุจิ และหากเป็นมากจะเกิดอาการบวมของอัณฑะ
ผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลืองโต คลำดูแข็งเหมือนยาง ส่วนมากเกิด hydrocoele และ elephantiasis (โรคเท้าช้าง) เนื่องจากตัวแก่ของพยาธิตาย ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดน้ำเหลือง เป็นผลทำให้เกิดการอุดตันของต่อมน้ำเหลืองต่างๆ เช่น ถ้าเกิดบริเวณกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดปัสสาวะปนน้ำเหลือง (chyluria) หรืออุดตันบริเวณช่องท้องทำให้เกิดน้ำในช่องท้อง ชนิด chyloperitoneum และตามแขนขาทำให้เกิด elephantiasis

ไม่มีอาการ

กลุ่มที่ไม่มีอาการจะแบ่งออกเป็น 2 พวกได้แก่

 - ตรวจพบพยาธิในกระแสเลือดแต่ไม่มีอาการ พวกนี้มักจะมีปัญหาเรื่องระบบภูมิคุ้มกัน
 - ไม่พบตัวพยาธิแต่ตรวจพบ Circulating filarial antigen (CFA)ในเลือด                    เมื่อให้ยารักษาระดับ Circulating filarial antigen (CFA) จะลดลง

3.การป้องกัน
 - ทำลายยุงและแหล่งลูกน้ำ
 - ป้องกันไม่ให้ยุงกัน มุ้ง ยาทากันยุง

 - ให้รีบรักษาผู้ที่เป็นโรคนี้

ประเทศเวียดนาม
โรคหัด

1.ลักษณะโรค

เป็นโรคติดต่อทางระบบหายใจ ติดต่อกันได้ง่ายทางเสมหะ น้ำลายเกิดจากเชื้อ Measles virus คนที่ได้เชื้อนี้จะมีไข้สูง ตาแดง ไอ หลังจากมีไข้ 3-7 วันก็จะมีผื่นซึ่งเริ่มที่หน้าก่อน และลามไปทั้งตัว เป็นโรคติดต่อโรค มักเป็นกับเด็กเล็ก 9 เดือน- 6 ปี ติดต่อโดยทางหายใจ น้ำลายที่ออกจากปาก คอ มักจะระบาดตอนฤดูหนาวถึงฤดูร้อน

2.อาการ
- ระยะฟักตัว คือจะเกิดอาการหลังได้รับเชื้อไปแล้ว 8-12 วัน
- อาการนำเริ่มต้นด้วยเด็กจะมีไข้สูง อาการงอแง กระสับกระส่าย ปวดตามตัว น้ำมูกไหล ตาจะแดง   และแพ้แสง ไอแห้งๆ มีอาการไข้สูงปวดตามตัว  ระยะที่เริ่มเป็น 2-3 วันแพทย์อาจตรวจพบผื่นแดง   เล็กๆในปากเรียก Koplick'spot
- ระยะออกผื่น หลังมีไข้ 3-4 วันจะไอมากขึ้น มีผื่น โดยผื่นขึ้นหน้าผาก และลามไปที่หน้า คอ และ   ลำตัวในเวลา 24- 36 ชั่วโมง เมื่อผื่นขึ้นอาการปวดเมื่อจะดีขึ้น ไข้จะค่อยๆลง  ผื่นจะใช้เวลา 3     วัน ลามจากหัวถึงขา ฝ่ามือฝ่าเท้าจะไม่มีผื่น ผื่นจะเริ่มจางที่ศีรษะก่อน ผื่นจะจางใน 7-10 วัน       เหลือรอยดำๆ
  ผู้ที่ขาดวิตามินเอ หรือผู้ป่วยโรคเอดส์จะมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไป

3.การติดต่อ
โรคนี้จะติดต่อโดยคนใกล้ชิดได้สัมผัสกับเสมหะ หรือน้ำลายของผู้ป่วยที่เกิดจากการไอหรือจามเชื้อที่อยู่ในอากาศหรือผิวของวัตถุจะยังคงติดต่อสู่คนอื่นได้ 2-4 ชั่วโมง

สำหรับผู้ป่วยจะแพร่เชื้อก่อนและหลังมีผื่น 4 วัน

4.การป้องกัน
สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน MMR ตามตารางการฉีด หรือสามารถฉีดวัคซีนก่อนสัมผัสโรค หรือหลังสัมผัสโรคไม่เกิน 3 วันก็กันโรคได้

ประเทศลาว

โรคเมลิออยด์


1.ลักษณะโรค

โรคเมลิออยด์เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีอาการแสดงที่จำเพาะยากต่อการวินิจฉัย ไม่มีชุดตรวจคัดกรองใดๆ ที่มีความแม่นยำในการวินิจฉัยเบื้องต้นมีอัตราการเสียชีวิตสูง ยากต่อการรักษาผู้ป่วยมีอาการแสดงได้หลากหลายและไม่มีอาการจำเพาะ ผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการไข้สูงเพียงอย่างเดียวอาจมีไข้สูงช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดโดยไม่มีอาการจำเพาะที่อวัยวะใดๆ อาจมีอาการปอดอักเสบติดเชื้อมีไข้ไอมีเสมหะเจ็บหน้าอกหรืออาจมีเนื้อตายหรือฝีหนองที่ปอดตับหรือม้าม ผู้ป่วยมักมีอาการล้มเหลวของอวัยวะต่างๆจากการติดเชื้อ (multipleorgan failure) และเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

2.อาการ
อาการและอาการแสดงของโรคนี้อาจพบได้หลายรูปแบบ และไม่มีอาการเฉพาะอาจมาด้วยอาการแตกต่างกันดังต่อไปนี้
·ไข้สูงมีอาการ sepsis, severe sepsis หรือ septic shock จากการติดเชื้อในกระแสเลือด(bacteremia) การติดเชื้อในกระแสเลือดพบได้ประมาณ 50% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ทั้งหมด
·ปอดติดเชื้อเฉียบพลัน(acute pneumonia) เช่นไข้ ไอมีเสมหะ เจ็บหน้าอก การติดเชื้อในปอดพบได้ประมาณ 50% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ทั้งหมดและมักพบร่วมกับการติดเชื้อในกระแสเลือด
·ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ(urinary tract infection) เช่น ไข้ และอาจมีปัสสาวะแสบขัด การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะพบได้ประมาณ25% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ที่ได้รับการเพาะเชื้อจากปัสสาวะด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อที่จำเพาะกับเชื้อBurkholderia pseudomallei
·ติดเชื้อในข้อ(acute septic arthritis) เช่น ไข้ มีข้อบวม แดง ร้อน การติดเชื้อในข้อพบได้ประมาณ 10% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ทั้งหมด
·ฝี(abscess) ซึ่งพบได้บ่อยในตับม้าม ต่อมน้ำเหลือง ตามผิวหนัง และอาจพบได้ในทุกอวัยวะในร่างกายเช่น ฝีในสมองฝีในตา ฝีในช่องคอชั้นลึก ฝีในปอด หนองในเยื่อหุ้มปอด หนองในเยื่อหุ้มหัวใจหลอดเลือดโป่งพองจากการติดเชื้อ  ฝีในไต และฝีในต่อมลูกหมาก ฝีในตับและม้ามพบได้ประมาณ 33% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ที่ได้รับการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง
·ต่อมน้ำลายพาโรติดอักเสบเป็นฝี พบได้ประมาณ 33% ของผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ในเด็ก
·ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการรุนแรงและเฉียบพลัน(ร้อยละ 90%)แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจมีอาการเรื้อรังและให้อาการคล้ายโรคอื่นๆ ได้ เช่นไอเรื้อรังคล้ายวัณโรค แผลเรื้อรังคล้ายมะเร็งผิวหนัง
·ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเช่นเบาหวาน ทาลัสซีเมีย และโรคไต มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเมลิออยด์มากกว่าคนปกติแต่ผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ประมาณ 25%ก็ไม่มีประวัติโรคประจำตัวใดๆ มาก่อน

3.วิธีการติดต่อ
โดยทั่วไป เชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายคนโดยผ่านทางผิวหนัง ถ้าผิวหนังมีการสัมผัสดินและน้ำโดยไม่จำเป็นต้องมีรอยขีดข่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการสัมผัสดินและน้ำเป็นเวลานานๆเช่นการทำนาและการจับปลาและในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันลดลงเช่นผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยโรคไตกรณีที่มีบาดแผลและไปสัมผัสดินและน้ำจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดโรคเมลิออยด์มากขึ้นเชื้อเมลิออยด์สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการรับประทานโดยการทานอาหารที่มีดินปนเปื้อนหรือการทานน้ำที่ไม่ได้ผ่านการต้มสุกผ่านทางการหายใจโดยการหายใจฝุ่นดินเข้าไปในปอดหรืออยู่ภายใต้ลมฝน นักจุลชีววิทยาอาจติดเชื้อจากอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการได้โรคนี้โดยปกติไม่ติดต่อจากคนสู่คนแต่อาจติดต่อจากสัตว์สู่คนได้ถ้าสัมผัสสารคัดหลั่งที่ออกมาจากสัตว์ที่เป็นโรคหรือรับประทานเนื้อหรือนมจากสัตว์ที่เป็นโรค

4. การป้องกัน
 - หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำโดยตรง หากต้องสัมผัสดินหรือน้ำ เช่นทำการเกษตร จับปลา ลุยน้ำ    หรือลุยโคลน ควรสวมรองเท้าบูท ถุงมือยาง กางเกงขายาว หรือ ชุดลุยน้ำ
 - หากสัมผัสดินหรือน้ำ ควรทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่ทันที
 - หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรรีบทำแผลด้วยยาฆ่าเชื้อ ไม่ใส่ดินหรือสมุนไพรใดๆ ลงบนแผล และ    หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลจะหายสนิท
 - สวมรองเท้าทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน ไม่เดินเท้าเปล่า
 - ดื่มน้ำต้มสุก (เนื่องจาก น้ำฝน น้ำบ่อ น้ำบาดาล และน้ำประปา อาจมีเชื้อปนเปื้อนได้ และการก    รองด้วยเครื่องที่ไม่ได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องไม่สามารถฆ่าเชื้อเมลิออยด์ได้)
 - ทานอาหารสุกสะอาด (ไม่ทานอาหารที่มีการปนเปื้อนจากดิน ฝุ่นดิน หรือ อาหารที่ล้างด้วยน้ำที่    ไม่สะอาด)
 - หลีกเลี่ยงการสัมผัสลมฝุ่น และการอยู่ท่ามกลางสายฝน
 - เลิกเหล้า เลิกบุหรี่
 - ห้ามทานยาต้ม ยาหม้อ ยาชุด ยาลูกกลอน
 - ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวจะมีความเสี่ยงกับการเป็นโรคเมลิออยด์สูงขึ้นและควรดูแลสุขภาพให้ดี

ประเทศฟิลิปปินส์
โรคไข้หวัดหมู


โรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดหมูซึ่งเรียกย่อว่า SIV

เชื้อไวรัสไข้หวัดหมู เป็นเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ซึ่งที่เรารู้จักกันดี คือกลุ่มไวรัสที่เรียกว่า Orthomyxoviridae
ไวรัสไข้หวัดใหญ่แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่เอ (Influenzavirus A) ไวรัสไข้หวัดใหญ่ บี (Influenzavirus B) และไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซี (Influenzavirus C)
1.อาการ
อาการของไข้หวัดหมูในหมู : มักเป็นอาการไม่รุนแรง คนเลี้ยงต้องคอยสังเกต ซึ่งอา การที่พบได้ (ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการ) คือ หมูตัวร้อนทันที ซึม ไม่ตื่นตัวเหมือนเดิม เบื่ออาหาร ไอ/ร้องผิดปกติ จาม มีสารคัดหลั่งจากจมูก หายใจลำบาก และ ตาแดง หรือ ตาอักเสบ
อาการไข้หวัดหมูในคน : อาการมักเกิดภายใน 18-72 ชั่วโมงหลังสัมผัสเชื้อ (ระยะฟักตัวของโรค) และไวรัสจะแพร่ติดต่อได้ตั้งแต่ร่างกายติดโรค โดยทั่วไปประมาณ 1 วันก่อนเกิดอาการไปจนอาการต่างๆหายไป (โดยทั่วไปประมาณ 5-7 วันหลังมีอาการ) ซึ่งอาการไข้หวัดหมูในคน จะเหมือนกับอาการจากไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ได้แก่ มีไข้ อาจเป็นไข้สูง ไข้ต่ำ หรือบางคนอาจไม่มีไข้ ไอ (ไม่มาก) คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ รู้สึกหนาวสั่น อ่อนเพลีย บางรายอ่อนเพลียมาก ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งทั้ง 3 อาการหลังพบได้ในไข้ หวัดหมูบ่อยกว่าในไข้หวัดธรรมดา

2.การติดต่อ
ไข้หวัดหมูในหมู่หมู : เชื่อว่า มีหมู ทั้งหมูป่า หมูบ้าน และหมูในฟาร์ม เป็นรังโรค แต่บ่อยครั้งไวรัสเหล่านี้จะมีความรุนแรงขึ้น จนก่อให้หมูเกิดเป็นไข้หวัดใหญ่ได้
ไข้หวัดใหญ่ในหมู่หมู เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด การสัมผัสสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย หรือละอองไวรัสในอากาศจากการไอ จาม จึงเกิดการติดต่อจากเชื้อไวรัสของหมูที่เป็นโรคกับหมูไม่เป็นโรคในการเลี้ยงดู หรือในฟาร์ม เช่น ใช้จมูกดุนกัน หรือในการส่งหมู ซึ่งโรคระบาดนี้จะเกิดได้รวดเร็วมาก ภายใน 2-3 วันหมูเกือบทุกตัวในฟาร์มก็ติดโรคเกือบหมด
อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสไม่สามารถติดต่อผ่านทางการกินเนื้อหมูที่เป็นโรค ดังนั้น การกินเนื้อหมูที่เป็นโรคจึงปลอดภัย เพราะไข้หวัดหมูเป็นโรคติดต่อทางอากาศ (Airborne infection) ไม่ใช่โรคติดต่อทางอาหาร หรือน้ำดื่ม (Foodborne infection)
อนึ่ง ไข้หวัดใหญ่ทั้งในหมู ในนก และในคน สามารถติดต่อกันได้ และสามารถเปลี่ยน แปลงสายพันธุ์ผสมกันได้ เช่น ที่เคยมีไข้หวัดนกระบาดในหมู ในจีน และในเวียตนาม โดยเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ H3N2 และต่อมาพบว่ามีหมูติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในจีนและในอินโดนีเซีย
ไข้หวัดหมูในคน : ไข้หวัดหมูในหมูจะติดต่อสู่คนได้มักต้องเป็นคนที่ใกล้ชิด คลุกคลีกับหมู และมีโอกาสสัมผัสน้ำมูกน้ำลาย และละอองการไอ จามของหมู ซึ่ง คือ คนเลี้ยงหมูนั่นเอง นอกจากนั้นผู้ที่มีโอกาสติดไข้หวัดหมูจากหมูรองลงมา คือ สัตวแพทย์ที่ดูแลหมู ซึ่งเมื่อติดไข้ หวัดหมูจากหมูแล้ว คนๆนั้นก็แพร่กระจายเชื้อไวรัสไข้หวัดหมูสู่คนอื่นๆ ด้วยวิธีการเดียวกับการแพร่กระจายติดต่อของไข้หวัดใหญ่ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งคือไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และถ้าเกิดเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรง ก็อาจก่อให้เกิดการระบาดของไข้หวัดหมูไปในสถานที่ต่างๆได้ เช่น การระบาดในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2541 และในฟิลิบปีนส์ในปี พ.ศ. 2550 ทั้งนี้การติดต่อ/ระ บาดจากคนสู่คน คือ การสัมผัสน้ำมูกน้ำลาย การคลุกคลี และการสัมผัสไวรัสในละอองอากาศจากการไอ จาม หัวเราะของคนเป็นโรคนี้

3.การป้องกัน
การป้องกันโรคไข้หวัดหมูในคน เช่นเดียวกับในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วไป/โรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งที่สำคัญ ได้แก่
รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดเสมอ เพราะมือจะเป็นตัวสัมผัสเชื้อ และเมื่อมือสัมผัส จมูก ปาก และตา เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย ก่อการติดโรค
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัส ปาก จมูก ตา
ไม่ใช้ ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกวัน ในปริมาณเหมาะสมที่ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน กินผักและผลไม้ให้มากๆในทุกมื้ออาหาร
หลีกเลี่ยงที่แออัด หรือที่สาธารณะ โดยเฉพาะในช่วงมีการระบาดของโรค
ไอ จาม ต้องปิดปาก ปิดจมูก สั่งน้ำมูกโดยใช้ทิชชูเสมอ และทิ้งในถังขยะเสมอ
รู้จักใช้หน้ากากอนามัย ซึ่งในหลักการ คนที่ควรใช้หน้ากากอนามัย คือ คนที่ป่วย แต่ในบ้านเรา คนป่วยยังไม่ยอมใช้ ดังนั้นปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยการใช้หน้ากากอนามัยในช่วงมีการระบาดของโรค และเราต้องเข้าไปอยู่ในที่แออัด
ดูแลสังคมเพื่อป้องกันการระบาดของโรค โดยเมื่อมีไข้ไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรอยู่กับบ้าน (ยกเว้นไปหาแพทย์) จนกว่าไข้จะลงปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน และเมื่อมีอาการไอ ควรใช้หน้ากากอนามัยเสมอทั้งเมื่ออยู่ในบ้านและเมื่อออกจากบ้าน
รับฟังข่าวสารเสมอเพื่อการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดต่างๆตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข



ประเทศสิงคโปร์
ไข้เลือดออกเดงกี

1.อาการ

การดำเนินการของโรคไข้เลือดออกเดงกีที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนประมาณ 7-10 วันแบ่ง ได้เป็น 3 ระยะ คือ
- ระยะไข้ ประมาณ 2-7 วัน ทุกรายจะมีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งบางรายอาจมีอาการชักได้ ผู้ป่วยมักจะมีหน้าแดง ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการน้ำมูกหรืออาการไอ และอาจมีอาการเบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย อาการเลือดออกที่อาจพบได้ในระยะนี้ คือ จุดเลือดออกเล็กๆกระจายอยู่ตามแขน ขา ลำตัว รักแร้ อาจมีเลือดกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟันได้
- ระยะวิกฤต/ช็อก เป็นระยะที่มีการั่วของพลาสมา โดยระยะรั่วจะมีประมาณ 24-48 ชั่วโมง ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง ส่วนใหญ่ก็จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
- ระยะฟื้นตัว ระยะฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดส่วนใหญ่ก็จะดีขึ้น ส่วนผู้ป่วยช็อกถึงแม้จะมีอาการรุนแรง ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

2.การติดต่อ
เชื้อไวรัสเดงกีแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งได้โดยมียุงลายเป็นตัวนำที่สำคัญ ถึงแม้ว่าจะมียุงลายหลายชนิดที่สามารถแพร่เชื้อได้ แต่ที่มีความสำคัญทางด้านระบาดวิทยาของโรคไข้เดงกีและไข้เลือดออกเดงกี คือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti  )ยุงลายมีขนาดค่อนข้างเล็ก สีขาวสลับดำ แหล่งเพาะพันธุ์ คือภาชนะขังน้ำที่คนทำขึ้นและมีน้ำขังเกิน โดยทั่วไปยุงลายจะออกหากินกัดคนในเวลากลางวัน พบอยู่ภายในบ้านและรอบๆบ้านมีระยะบินไกล 50 เมตรจะพบยุงลายชุกชุมมากในฤดูฝน

3.การป้องกัน
   ได้แก่การตัดวงจรชีวิตของยุงลาย
      1. ระยะไข่ ทำได้ง่ายๆโดยการขัดล้างตามผิวภาชนะต่างๆเป็นประจำทุกสัปดาห์
      2. ระยะลูกน้ำและตัวโม่ง กระทำได้โดย ปกปิดภาชนะเก็บน้ำด้วยฝาอย่างมิดชิด, ถ้าเป็นภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ ให้ใส่ทรายอะเบท หรือหมั่นขัดล้าง เปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน หรือเลี้ยงปลาหางนกยูง, การใช้แบคทีเรีย BTI, คว่ำภาชนะที่ไม่ได้ใช้, ทำลายเศษวัสดุที่อาจเป็นที่ขังน้ำ,ใส่เกลือ หรือน้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกลงในจานรองขาตู้กันมด เป็นต้น
      3. ระยะยุงตัวเต็มวัย สามารถกำจัดได้โดย การใช้สารเคมี, การใช้ไม้แบดไฟฟ้า และการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยใช้สารทาป้องกันยุง (repellents) ในระยะยาวต้องปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมไม่ให้เอื้อต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลาย

ประเทศบรูไน
โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ โดยมียุงลายตัวเมียเป็น พาหะโรค โดยยุงลายตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ ป่วยโรคไข้เลือดออก เชื้อไวรัสเดงกีในเลือดของผู้ป่วยจะเข้าไปฟักตัวและเพิ่มจำนวนในตัวยุง เชื้อนี้สามารถมีชีวิตอยู่ในตัวยุงตลอดอายุของยุง คือประมาณ 1-2 เดือน หากยุงลายตัวนั้นกัดคนอื่น เชื้อไวรัสเดงกีในยุงจึงถูกถ่ายทอดไปให้แก่คนได้
1.อาการ
ส่วนใหญ่คนที่ได้รับเชื้อไวรัสเดงกีเป็นครั้งแรกมักไม่มีอาการ หรืออาจมีเพียง ไข้สูง ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และเบื่ออาหารเท่านั้น แต่ในคนที่ติดเชื้อนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยเฉพาะเชื้อนั้นเป็นเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงถึงช็อกได้ โดยอาการของโรคไข้เลือดออกแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะไข้ ระยะช็อก และระยะพักฟื้น
ระยะไข้ หรือ ระยะที่ 1: ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หน้าแดง อาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง หรือมีเลือดออกบริเวณอื่นๆ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนมีเลือดปน ถ่ายอุจจาระสีดำ เป็นต้น โดยอาการจะเป็นอยู่ประมาณ 2-7 วัน

ระยะช็อก หรือ ระยะที่ 2: ในบางรายขณะที่ไข้ลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลง คือ ซึมลง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ปลายมือปลายเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว และเบา ปัสสาวะน้อย ในบางรายมีอาการปวดท้องมาก ท้องโตขึ้น หายใจหอบเหนื่อย เนื่องจากมีน้ำรั่วออกจากหลอดเลือดเข้าสู่ช่องเยื่อหุ้มปอด และช่องท้อง บางรายมีเลือดออกมาก เช่น เลือดออกในระบบทางเดินอาหารทำให้อุจจาระสีดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด หรือมีเลือดกำเดาไหล ผู้ป่วยในระยะนี้อาจมีอาการช็อก ความดันโลหิต (เลือด) ต่ำ และถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน แต่ในบางราย ผู้ป่วยมีอาการไม่มาก หลังจากไข้ลง ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากระยะที่ 1 เข้าสู่ระยะที่ 3 เลย

ระยะพักฟื้น หรือ ระยะที่ 3: ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น โดยรับประทานอาหารได้มากขึ้น ชีพจรเต้นช้าลง ความดันโลหิตกลับมาสู่ปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ในบางรายอาจมีผื่นเป็นวงขาวๆบนพื้นสีแดงตามผิวหนังโดยเฉพาะที่ขาทั้ง 2 ข้าง ผื่นมักไม่คันและไม่เจ็บ

2.สาเหตุไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมียบินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่นยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง

3.การป้องกัน
ภาคครัวเรือนต้องป้องกันโดยการกำจัดแหล่งน้ำที่เพาะพันธุ์ยุง และการป้องกันส่วนบุคคล
ภาคชุมชนจะต้องมีการรณรงค์ให้มีการกำจัดแหล่งลูกน้ำในชุมชนอย่างน้อยปีละ 2-3 ครั้ง และจะต้องทำพร้อมกันถั่วประเทศโดยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ

ประเทศมาเลเซีย
ไข้รากสาดใหญ่

1.อาการ
โรคไข้รากสาดใหญ่ทั้ง 3 ประเภท รวมถึงโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Rickett sia นี้ ในช่วงประมาณ 5 วันแรก อาการจะเหมือนกัน ได้แก่ มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย หลังจากนั้นแต่ละโรคจะมีอาการเด่นที่แตกต่างกันไป แต่โดยรวมก็จะคล้ายคลึงกัน คือ
อาการไอ ส่วนใหญ่เป็นอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ ในผู้ป่วยที่เป็นไข้ราก สาดใหญ่ชนิดระบาด พบอาการไอได้มากถึง 70% ถ้าเป็นไข้รากสาดใหญ่จากหนู หรือไข้ราก สาดใหญ่จากป่าละเมาะ พบผู้ป่วยเกิดอาการได้น้อยกว่า
ผื่นที่ผิวหนัง ผู้ป่วยไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดและไข้รากสาดใหญ่จากหนูพบผื่นที่ผิวหนังได้ถึง 80% ในขณะที่ผู้ป่วยไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะพบเป็นผื่นได้ประ มาณ 50% และหากเป็นคนในพื้นที่ที่มีความชุกของโรคสูงแล้ว แทบจะไม่พบผื่นเลย ผื่นที่ขึ้นในช่วงแรกจะเป็นผื่นชนิดแบนเรียบสีแดง ต่อมาจะเป็นตุ่มนูนเล็กๆ ผื่นจะเริ่มเกิดที่บริเวณลำตัวช่วงบน รักแร้ แล้วกระจายออกไปตามแขนและขาจนทั่วตัว ยกเว้นที่บริเวณใบหน้า ฝ่ามือและฝ่าเท้า ในไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดจะพบผื่นที่เป็นจุดเลือดออกเล็กๆด้วย (เรียกว่า Petechiae) ซึ่งแทบจะไม่พบในผู้ป่วยที่เป็นไข้รากสาดใหญ่จากหนูและไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะ
ต่อมน้ำเหลืองโต อาจโตเฉพาะบางแห่งหรือโตทั่วตัว โดยมักจะคลำพบได้ในผู้ป่วยไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะ แทบไม่พบในไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดและในไข้ราก สาดใหญ่จากหนู
อาการทางสมอง เช่น สับสน สั่น ชัก ซึม เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เป็นไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาด ไข้รากสาดใหญ่ชนิดอื่นพบได้น้อยกว่า
แผลที่ผิวหนัง (Eschar) พบเฉพาะในผู้ป่วยไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะ ไม่พบในไข้รากสาดใหญ่ชนิดอื่นๆ แต่จะพบในโรคอื่นๆ ที่เกิดจากแบคทีเรียกลุ่ม Rickettsia ได้ โดยจะเกิดตรงผิวหนังบริเวณที่ตัวไรอ่อนกัด เริ่มแรกจะปรากฏเป็นตุ่มนูนที่ไม่เจ็บ ต่อมาจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและแข็ง ตรงกลางของตุ่มจะเน่ากลายเป็นเนื้อตายสีดำ ดูคล้ายแผลที่ถูกบุหรี่จี้ เรียกว่าแผล Eschar ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาณ 60% ตำแหน่งที่มักจะพบได้แก่ รักแร้ ซอกคอ ขาหนีบ
อาการอื่นๆ ได้แก่ อาการกลัวแสง (น้ำตาไหล ตาพร่า เมื่อเจอแสงสวาง) ตาแดง ปวดตา ตับโต ม้ามโต เป็นต้น

2.สาเหตุ
เชื้อชนิด Rickettsia rickettsii ทำให้เกิดโรคไข้พุพองเทือกเขาร็อกกี้ 
เชื้อชนิด Coxiella burnetii ทำให้เกิดโรคไข้คิว (Q fever) เป็นต้น เชื้อกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในแมลงต่างๆ คือ เหา ไร เห็บ หมัด ซึ่งเป็นพาหะโรคนำเชื้อโรคมาสู่คน

3.การป้องกัน
การป้องกันตนเองจากการเป็นโรคไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดคือ การป้อง กันตนเองไม่ให้เป็นเหา โดยเฉพาะการเป็นเหาที่ลำตัว ได้แก่ การอาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกวัน การไม่ใช้เสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวอื่นๆร่วมกับผู้อื่น เมื่อพบว่าตนเองเป็นเหาก็ต้องรีบรักษา เป็นต้น
การป้องกันตนเองจากการเป็นไข้รากสาดใหญ่จากหนู คือการป้องกันการถูกหมัดจากหนูและแมวกัด ได้แก่ การกำจัดหมัดให้แมวหรือหนูพันธุ์ที่เลี้ยงไว้อย่างสม่ำเสมอ ส่วนหนูบ้านที่ไม่ได้เลี้ยงไว้ ก็พยายามกำจัดให้หมดไป รวมทั้งการเก็บอาหารที่หนูจะมากินให้มิดชิด กำจัดขยะให้ถูกวิธี
การป้องกันตนเองจากการเป็นไข้รากสาดใหญ่จากป่าละเมาะ คือ การป้องกันการถูกไรกัด ได้แก่ การใส่เสื้อผ้าแขนขายาวให้มิดชิด เมื่อจะต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับพุ่มไม้หรือต้นไม้เตี้ยๆ หรือเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติต่างๆที่มีต้นไม้ พุ่มไม้เตี้ย ๆ และหากจะนั่งหรือนอนอยู่กับต้นไม้ควรทายากันแมลง เป็นต้น

ประเทศอินโดนีเซีย
โรคโปลิโอ

1.อาการ โรคโปลิโอมีระยะฟักตัว ของโรค คือตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการ ประมาณ 3-6 วัน ทั้งนี้แบ่งผู้ป่วยตามอาการออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
ไม่ปรากฏอาการใดๆ ผู้ที่ติดเชื้อประมาณ 90-95% จะอยู่ในกลุ่มนี้
กลุ่มมีอาการเพียงเล็กน้อย (Abortive poliomyelitis) ประมาณ 5-10% ของผู้ที่ติดเชื้อจะปรากฏอาการที่ไม่จำเพาะ ได้แก่ มีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง เมื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ปวดศีรษะ โดยเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน แล้วจะหายเป็นปกติ
กลุ่มมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Nonparalytic poliomyelitis) พบได้เพียง 1% ของผู้ที่ติดเชื้อ โดยจะมีอาการ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดต้นคอ คอแข็ง และอาจมีอาการปวดหลัง ในผู้ป่วยบางคนโดยเฉพาะในเด็ก จะมีอาการเหมือนผู้ ป่วย Abortive poliomyelitis นำมาก่อนเกิดอาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ ผู้ ป่วยในกลุ่มนี้จะหายเป็นปกติด้วยเช่นกัน
กลุ่มมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Paralytic poliomyelitis) พบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้น้อยมาก โดยเริ่มต้นผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนผู้ป่วยกลุ่ม Nonparalytic poliomyelitis หลังจากนั้นเป็นเวลาหลายวัน จะเริ่มมีอาการปวดกล้ามเนื้อต่างๆทั่วร่างกายอย่างรุนแรง และตามมาด้วยอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที ในผู้ป่วยบางราย อาการของ Nonparalytic poliomyelitis จะหายสนิทก่อน หลังจากนั้น 1-2 วัน อาการไข้ก็จะกลับมาอีก และตามด้วยอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ทั้งนี้กล้ามเนื้อที่เกิดอาการอ่อนแรง จะเป็นแบบข้างซ้ายและขวาไม่สม มาตรกัน โดยกล้ามเนื้อที่พบเกิดอาการบ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อที่ขา แต่ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อของร่างกายส่วนไหนก็สามารถเกิดอาการขึ้นได้ทั้งนั้น เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถทำลายเซลล์ประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อเหล่านั้นได้ในหลายๆตำแหน่ง เช่น อาจทำให้มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะไม่ออก หากกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่อ่อนแรง ผู้ ป่วยก็จะท้องผูก หรือถ้ากล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจมีการอ่อนแรง ผู้ป่วยก็จะมีอาการหายใจลำบาก ในกรณีที่ไวรัสไปทำลายเซลล์ประสาทสั่งการบริเวณก้านสมอง (ควบคุมเกี่ยวกับการกลืนอาหาร การพูด การหายใจ และการไหลเวียนเลือด) ผู้ป่วยจะมีอาการกลืนลำบาก พูดไม่ชัด หรือในรายที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนของเลือด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการของระบบการไหลเวียนเลือดล้มเหลวได้ เช่น ภาวะช็อก
อนึ่ง ผู้ป่วยไม่ว่าจะมีอาการอยู่ในกลุ่มไหน เมื่อหายจากโรคแล้ว จะมีภูมิ คุ้มกันต่อเชื้อชนิดย่อย (Subtype) ที่ทำให้เกิดโรคไปตลอดชีวิต แต่ยังมีโอกาสติดเชื้อชนิดย่อยอื่นๆของเชื้อโปลิโอได้อีก

2.สาเหตุ
โรคโปลิโอเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Poliovirus ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดย่อย (3 serotypes) ไวรัสโปลิโอเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม Enterovirus ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถแบ่งตัวเจริญเติบโตอยู่ในลำไส้ และก่อโรคได้หลายโรค ตัวอย่างของไวรัสอื่นๆในกลุ่มนี้ เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรค มือ-เท้า- ปาก และไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
เนื่องจากไวรัสนี้เจริญเติบโตอยู่ในลำไส้ของผู้ป่วย เชื้อจึงถูกขับออกจากร่างกายมากับอุจจาระ และแพร่สู่ผู้อื่นผ่านการกินอาหาร และดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ป่วยนั่นเอง ซึ่งเกิดจากการขับถ่ายที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และการไม่ล้างมือก่อนการหยิบจับอาหาร โรคนี้จึงมักพบในประเทศด้อยพัฒนา และกำลังพัฒนา ที่ขาดการดูแลเรื่องสุขอนามัยที่ดี
การติดเชื้อโปลิโอมักพบในวัยเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อเท่าๆกั

3.การป้องกัน
โรคนี้มีวัคซีนสำหรับป้องกัน วัคซีนที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมีทั้งในรูปแบบฉีด และรูปแบบรับประทาน

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ25 มกราคม 2565 เวลา 01:39

    merit casino online【Malaysia】nba __99bet99.com
    【nba __99bet99.com】,nba __99bet99.com】,nba หารายได้เสริม __99bet99.com,nba worrione __99bet99.com,nba __99bet99.com,nba __99bet99.com,nba __99bet99.com,nba.com,nba.com,nba.com,nba.com 메리트 카지노 주소

    ตอบลบ
  2. Playtech casino - drmcd
    Playtech casino. We 세종특별자치 출장안마 are a 대전광역 출장안마 casino 광양 출장샵 in the UK, Australia, New 영천 출장샵 Zealand and Ireland, offering live dealer games, mobile casinos, and 공주 출장샵 gambling products. Contact.

    ตอบลบ